Home
Paper Project นศ.ปี 4 Ballast Electronic KPE
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับบัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์
ปัจจุบันมีการใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์ในการให้แสงสว่างกันอย่างแพร่หลาย
เนื่องจากประสิทธิภาพในการให้แสงสว่างสูงถึง 75 ลูเมนต่อวัตต์ในขณะที่หลอดไส้ให้แสงสว่างได้เพียง
12 ลูเมนต่อวัตต์ การต่อวงจรหลอดฟลูออเรสเซนต์เพื่อการใช้งานนั้นโดยทั่วไปใช้อุปกรณ์เสริมอีก
3 อย่างคือ
1.) บัลลาสต์ชนิดขดลวด คือบัลลาสต์ที่มีขดลวดพันอยู่บนแกนเหล็ก
มีหน้าที่เพิ่มแรงดันในการจุดหลอดให้ติด
และรักษากระแสไฟฟ้าที่วิ่งผ่านหลอดให้เหมาะสมกับขนาดวัตต์ของหลอด
2.) สตาร์ตเตอร์ ช่วยในการเริ่มจุดหลอดฟลูออเรสเซนต์ให้ทำงาน
3.) ตัวเก็บประจุ
มีหน้าที่เพิ่มค่าประกอบกำลัง (Power Factor) ของวงจร แต่บางครั้งก็ไม่ใส่ตัวเก็บประจุในวงจรเพื่อลดต้นทุนในการติดตั้ง
บัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์ (Ballast
Electronics) เป็นอุปกรณ์อีกชนิดหนึ่งซึ่งทำหน้าที่เหมือนกับอุปกรณ์เสริมทั้ง
3 อย่างข้างต้นพร้อมกัน โดยที่บัลลาสต์อิเล็คทรอนิคส์จะสร้างความถี่สูงถึง
50 กิโลเฮิร์ท (kHz) จ่ายให้กับหลอดฟลูออเรสเซนต์ ซึ่งหลอดฟลูออเรสเซนต์จะตอบสนองความถี่สูงได้ดีกว่าความถี่ 50Hz ที่ใช้อยู่ในบ้าน เป็นผลให้สามารถประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้ไม่น้อยกว่า 30% และยังยืดอายุการใช้งานของหลอดได้นานกว่า 25%
เมื่อเทียบกับการต่อวงจรโดยใช้บัลลาสต์ชนิดขดลวด การใช้บัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์ยังมีข้อดีอื่นๆอีกเช่นหลอดเปิดติดทันที, แสงสว่างที่ออกมาไม่กระพริบให้รำคาญสายตา, ไม่มีเสียงฮัมรบกวนสมาธิขณะทำงาน,
ไม่สะสมความร้อนเหมือนบัลลาสต์ชนิดขดลวดและหลอดยังคงติดแม้แรงดันไฟฟ้าตก
บัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์ที่จำหน่ายในเมืองไทยจะใช้แรงดันไฟฟ้า
220V ความถี่ 50Hz
มีข้อมูลที่สำคัญอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับบัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์ที่ควรทราบดังนี้
1.) ปริมาณของกระแสขณะทำงาน (Irms
และ Ipeak)
ปริมาณของกระแสยิ่งน้อยเท่าใดความสูญเสียเนื่องจากความร้อนที่เกิดบนสายไฟก็ยิ่งน้อยลง
2.) ค่าประกอบกำลัง (Power Factor) เป็นค่าที่บอกว่าบัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้อยู่สามารถสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกระแสและแรงดันให้สอดคล้องกันได้มากน้อยเพียงไร บัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีคุณภาพสูงจะมีค่า Power
Factor ใกล้เคียง 1.0 ในขณะที่บัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์คุณภาพต่ำจะมีค่า Power Factor ต่ำ เมื่อติดตั้งบัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีค่าPower
Factor ต่ำจำนวนมาก
จะทำให้สูญเสียพลังงานไฟฟ้าในระบบไฟฟ้าและในตัวบัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์เอง
ซึ่งพลังงานที่สูญเสียนี้จะเป็นสัดสวนผกผันกับค่า Power Factor
3.) ค่า THD (Total Harmonics Distortion) เป็นค่าที่บอกว่าบัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้อยู่มีสัญญาณรบกวนความถี่สูงมากน้อยเพียงไร
สัญญาณรบกวนความถี่สูงที่เกิดจากบัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์จะไหลเข้าไปในระบบไฟฟ้า
และจะไหลผ่านหม้อแปลงไฟฟ้าที่มีอยู่ในเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆในบ้านทำให้เกิด
ความร้อนขึ้น
มีผลให้อายุการใช้งานของเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านลดลง บัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีคุณภาพสูงจะมีค่า THD ต่ำ
ข้อมูลทางไฟฟ้าแสดงคุณภาพของบัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์ได้ดังนี้
กระแส
|
Power Factor |
THD |
บัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์ |
สูง |
ต่ำ |
สูง |
คุณภาพต่ำ |
ต่ำ |
สูง |
ต่ำ |
คุณภาพสูง |
คุณสมบัติทางไฟฟ้าของบัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์ KPE (model: BL02)
[18W]
|
V |
Hz |
Irms |
Ipeak |
PF |
THD (%) |
KPE |
220 |
50 |
0.08 |
0.17 |
0.95 |
27 |
ทั่วไปในท้องตลาด |
220 |
50 |
0.14 |
0.21 |
0.60 |
70 |
[32W (หลอดกลม)]
|
V |
Hz |
Irms |
Ipeak |
PF |
THD (%) |
KPE |
220 |
50 |
0.14 |
0.30 |
0.95 |
27 |
ทั่วไปในท้องตลาด |
220 |
50 |
0.24 |
0.65 |
0.60 |
70 |
[36W]
|
V |
Hz |
Irms |
Ipeak |
PF |
THD (%) |
KPE |
220 |
50 |
0.16 |
0.35 |
0.95 |
27 |
ทั่วไปในท้องตลาด |
220 |
50 |
0.26 |
0.71 |
0.60 |
70 |
การคัดเกรดบัลลาสต์แบบง่ายๆ
เกรดA {บัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์ราคาประมาณ 500 บาทขึ้นไป}
คุณสมบัติ
- ประะหยัดพลังงานมากกว่า 30%
- ยืดอายุหลอดไฟมากกว่า 25%
- กระแสไฟฟ้าไหลน้อย
- สัญญาณรบกวนน้อยมาก
- ถ้าไฟตก แสงสว่างคงที่
เกรดB {บัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์ราคาประมาณ
300 - 500 บาท
(KPE) }
คุณสมบัติ
- ประหยัดพลังงานมากกว่า 30%
- ยืดอายุหลอดไฟมากกว่า 25%
- กระแสไฟฟ้าไหลน้อย
- สัญญาณรบกวนน้อย
เกรดC {บัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์ราคาประมาณ
150 - 300 บาท
(ทั่วไปในท้องตลาด)}
คุณสมบัติ
- ประหยัดพลังงานมากกว่า 30%
- ยืดอายุหลอดไฟมากกว่า 25%
เกรดD {บัลลาสต์แกนเหล็ก}
คุณสมบัติ
- กินไฟมากเพราะร้อน
- อายุหลอดสั้นเพราะกระแสจ่ายให้หลอดมาก
ระยะเวลาคุ้มทุนของบัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์เมื่อเทียบกับบัลลาสต์แกนเหล็ก
ระยะเวลาคุ้มทุนคือ
ช่วงระยะเวลาที่ประหยัดราคาค่าไฟฟ้าลงได้เท่ากับส่วนต่างของราคาการลงทุนซื้อบัลลาสต์อิเลคทรอนิกส์ที่มากไปกว่าราคาบัลลาสต์แกนเหล็ก
วิธีคำนวณ
๑. หาอัตราการประหยัดพลังงานไฟฟ้าของหลอดบัลลาสต์อิเลคทรอนิกส์เมื่อเทียบกับหลอดธรรมดาที่ใช้หลอดไฟฟ้าในหนึ่งหน่วยเวลาเท่ากัน
( ใช้ข้อมูลจากการทดลอง )
๒. เทียบส่วนหาระยะเวลาเมื่อค่าการประหยัดไฟฟ้าเท่ากับส่วนเกินของการลงทุน
ข้อมูลอื่น ๆ ที่ใช้ในการคำนวณ
- คิดจากบัลลาสต์
KPE ขนาด 36W
- อัตตราค่าไฟฟ้าหน่วยละ
3 บาท
- ใช้หลอดไฟฟ้าวันละ 8 ชั่วโมง
- อัตตราการใช้ไฟฟ้าของหลอดไฟได้มาจากการทดลองจริงกับ
Kilowatt-hour meter
|
กราฟแสดงระยะเวลาคุ้มทุนของบัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์KPE
การเปรียบเทียบแรงดันและกระแสของบัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์
บัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์KPE
|
Vrms=216.7V Irms=165mA Ipeak=400mA
THD=30%
PF=0.897 (±0.05) |
บัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์ทั่วไปในท้องตลาด
|
Vrms=216.7V Irms=264mA Ipeak=750mA
THD=71%
PF=0.606(±0.05) |
รูปร่างของบัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์KPE
(36/40W)
|
|
อ.ดร. กฤษ เฉยไสย
อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
(Ph.D.
Power Electronics, Japan)